ผู้แทนจาก วว., สวทช., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ลงนามในบันทึกความตกลงร่วมมือในโครงการ "การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหารและการ ใช้งานในยานยนต์" ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 25 ก.พ. 53 (ภาพโดย วว.)
วว. - 3 หน่วยงานวิจัยชั้นนำของไทยจับมือกันลงนามร่วมวิจัยกับญี่ปุ่น มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไบโอดีเซลจากสบู่ดำให้ได้คุณภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อ เพลิงฟอสซิล หวังใช้ขับเคลื่อนยานยนต์ แก้ปัญหาวิกฤตอาหารและพลังงาน
สถาบัน วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งชาติ (National Institute of Advanced Industrial Science and Technology: AIST) และ มหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University: WU) ประเทศญี่ปุ่น ลงนามความตกลงในการทำโครงการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหารและการใช้ งานในยานยนต์ (Innovation on Production and Automotive Utilization of Biofuels from Non food Biomass Project) เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency :JICA) โดยมี ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัด วท. เป็นประธานในพิธี
นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. กล่าวชี้แจงว่า โครงการวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทย สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตน้ำมันสังเคราะห์สำหรับยานยนต์จากวัตถุดิบชี วมวลที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งได้เลือกสบู่ดำเป็นวัตถุดิบในการวิจัย โดยมีเป้าหมายหลักในความร่วมมือครั้งนี้ คือ เพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซลคุณภาพสูงที่ผ่านมาตรฐานโลกจากน้ำมันสบู่ดำด้วย เครื่องต้นแบบขนาด 1 ตันต่อวัน และผลิตน้ำมันสังเคราะห์จากกากสบู่ดำขนาดโรงงานนำทาง
“โครงการวิจัยนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี เริ่มจากปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2557 มีงบประมาณดำเนินการจำนวน 220 ล้านบาท จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ผลผลิตที่จะได้จากความร่วมมือในครั้งนี้ คือ น้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำที่ผ่านมาตรฐานโลก และน้ำมันสังเคราะห์จากกากสบู่ดำ ผลสำเร็จของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาด้านพลังงาน ทดแทนของประเทศไทยในอนาคต” ผู้ว่าการ วว. กล่าว
ด้าน ดร. ธเนศ อุทิศธรรม นักวิชาการฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน วว. กล่าวเพิ่มเติมถึงกิจกรรมของโครงการวิจัยนี้ว่า จะครอบคลุมงานวิจัยด้านต่างๆ ได้แก่ การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีดีท็อกซิฟิเคชั่น (Detoxification) ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, การวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตไบโอดีเซลที่ได้มาตรฐานโลก, การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเดมิเนราไลเซชั่น (Demineralization) สำหรับการผลิตไบโอดีเซล, การวิจัยพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับไพโรไลซีสแบบเร็ว (Fast Pyrolyzer), การพัฒนาไพโรไลเซอร์แบบเร็ว
การวิจัยพัฒนาการแยกน้ำมันและ น้ำ, การวิจัยผลิตน้ำมันสังเคราะห์และการกลั่นแยกน้ำมัน, การทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์และมลพิษที่ปลดปล่อยจากการใช้น้ำมันไบโอดีเซลและ น้ำมันสังเคราะห์, การวิเคราะห์วงจรชีวิตของการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลและน้ำมันสังเคราะห์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนนักวิจัยและการฝึกอบรมนักวิจัยไทยในประเทศญี่ปุ่น
อนึ่ง วว. และ สวทช. ได้ร่วมกันทำโครงการวิจัยและพัฒนาไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน มาตั้งแต่ปี 2548 โดยได้พัฒนาเครื่องบีบน้ำมันปาล์มและเครื่องมืออุปกรณ์ต้นแบบการผลิตไบโอ ดีเซล และยังได้ร่วมกับกรมอู่ทหารเรือและภาคเอกชนในปี 2550 นอกจากนี้ วว. และ สวทช. ยังมีความร่วมมือกับ AIST ประเทศญี่ปุ่น ในการวิจัยและพัฒนาด้านเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซลและการจัดทำมาตรฐานไบโอดีเซลมา ตั้งแต่ปี 2547
สำหรับเทคโนโลยีไพโรไลซีสแบบเร็ว เป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวล หรือวัสดุเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่น พลาสติก ให้ได้ผลผลิตเป็นน้ำมันดิบ (Bio-oil) มากกว่า 70% และจะนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตน้ำมันสังเคราะห์ต่อไป ซึ่งน้ำมันสังเคราะห์ที่จะผลิตขึ้นเป็นน้ำมันดีเซลและเบนซินสังเคราะห์ที่มี คุณภาพเช่นเดียวกับน้ำมันดีเซลและเบนซินที่มีขายในเชิงพาณิชย์
Source: www.manager.co.th